วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

English Grammar: WORDS (คำ)




WORDS
คำในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้      ชนิด ด้วยกันคือ
             1. Noun
             2. Pronoun  
             3. Adjective  
             4. Adverb 
             5. Verb   
             6. Conjunction   
             7. Preposition   
             8. Interjection  
          ในภาษาอังกฤษนั้นการสร้างประโยคจะใช้คำต่างๆเหล่านี้มาแต่งเป็นประโยคขึ้น  ซึ่งคำแต่ละชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  
คือมีหน้าที่ต่างกันและมีการวางตัวต่างกันด้วย   ซึ่งต่อไปนี้จะได้อธิบายพื้นฐานเรื่องหลักการใช้คำต่างๆ เหล่านี้และหลักการแต่งประโยคอย่างง่ายๆ

NOUN
Noun คือคำที่ใช้เป็นชื่อของ คน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ แบ่งออกได้ ชนิดคือ
          1. Common Noun 
          2. Proper Noun 
          3. Collective Noun 

          4. Material  Noun 
          5. Abstract  Noun  

หน้าที่ของนาม
นามทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมานั้น เวลานำไปพูดหรือเขียน สามารถทำหน้าที่ได้ 7 อย่างคือ
          1. เป็น Subject ของกิริยาในประโยคได้.
          2. เป็น Object ของกิริยาในประโยคได้.
          3. เป็น Object ของ Preposition (บุรพบท) ได้.
          4. เป็น Complement คือส่วนสมบูรณ์ของกิริยาได้.
          5. เป็น Appositive คือเป็นนามซ้อนนามได้.
          6. เป็น Address คือเป็นนามเรียกขานได้ (และต้องใส่, Comma ด้วย).
          7. เป็น Possessive คือเป็นนามแสดงความเป็นเจ้าของได้ (และต้องใส่ Apostrophe’s ด้วย)

Pronoun
Pronoun (คำสรรพนาม) คือคำที่มีไว้สำหรับ(พูด,เขียน)แทนชื่อของคน,สัตว์,สิ่งของ,และสถานที่เพื่อป้องกันมิให้กล่าวชื่อนั้นซ้ำๆซากๆ ซึ่งเป็นการฟังไม่ไพเราะ

Pronoun   มีอยู่ 8 ชนิดด้วยกันคือ
1. Personal Pronoun
2. Possessive Pronoun 
3. Definite Pronoun 
4. Indefinite Pronoun 
5. Interrogative Pronoun
6. Relative Pronoun 
7. Reflexive Pronoun 
8. Distributive Pronoun 

1. Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนชื่อของผู้พูด, ผู้ฟัง, และผู้ที่ถูกกล่าวถึง  ซึ่งมีออยู่ พจน์  3  บุรุษ คือ


บุรุษที่     1
บุรุษที่     2
บุรุษที่     3




Personal   Pronoun   แบ่งได้  5  รูป คือ                                                                       

รูปที่  1
I
We
You
He
she
It
they


2.  Possessive Pronoun สามีสรรพนาม   คือสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งก็คือบุรุษสรรพนามรูปที่  4  นั่นเอง  เวลาใช้ไม่ต้องมีนามตามหลัง  มีหน้าที่ 3 อย่างคือ

2.1    เป็นประธานของกิริยาในประโยค  เช่น Your   book  is green,  mine is red.

2.2    เป็นส่วนสมบูรณ์ของกิริยา   เช่น  this  pencil is mine, that one is your.

2.3  ใช้เรียงตามหลังบุรพบท(คำเชื่อมคำ) เพื่อเน้นความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนขึ้นได้เช่น  A   friend  of  yours  was  killed  last  night.    

              3Definite Pronoun นิยมสรรพนาม  คือสรรพนามที่ชี้เฉพาะและใช้แทนนามได้ ที่นิยมใช้แพร่หลายมีอยู่ 6 ตัวคือ  (รวมทั้ง which ด้วย)

                    this,   that,   one      3   ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์.

                   These,    those,  ones   3    ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์.

*นิยมสรรพนามนี้ ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของกิริยาในประโยคได้ตามแต่ จะ ใช้งาน.

   4.   Indefinite pronoun อนิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้นคนนี้โดยตรง  (ตรงข้ามกับ Definite Pronoun)  ได้แก่คำว่า  some,  any,  all,  someone,  somebody,  anybody,  few,  everyone,  many,  nobody,   everybody,  othe

*ข้อสังเกต ทั้งนิยมสรรพนามและอนิยมสรรพนาม  ถ้าใช้โดยมีคำนามอื่นตามหลังจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ไป  แต่ถ้าใช้โดยไม่มีคำนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นนิยมสรรพนามหรืออนิยมสรรพนาม.

               5. Interrogative pronoun ปฤจฉาสรรพนาม  คือสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม  และต้องไม่มีนามตามหลังด้วยจึงจะเรียกว่าเป็นปฤจฉาสรรพนาม  ได้แก่    Who  ,  whom,  whose  ,  what,  which     ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.

 ·  Who   (ใคร)   ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นประธานของกิริยาในประโยคได้ บางครั้งก็เป็นกรรมได้  

   เช่น.   Who   is  standing   there  ? ใครกำลังยืนอยู่ที่นั่น?.

·Whom  (ใคร)  ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นกรรมของกิริยาหรือบุรพบท  (บางครั้งใช้ Who แทน). เช่น Whom  do  you  love ?  คุณรักใคร ?.

·Whose  (ของใคร)  ใช้ถามถึงเจ้าของ  และต้องเป็นบุคคลเท่านั้น เช่น.  Whose  is  the  car ?  รถคันนี้เป็นของใคร

                  ·    What (อะไร)   ใช้ถามถึงสิ่งของเป็นได้ทั้งประธานและกรรม  เช่น:-

                       -   ถ้าเป็นประธานต้องไม่ใช้กริยาอะไรมาช่วยทั้งสิ้น เช่น What  delayed  you ? อะไรทำให้คุณล่าช้า.

-     ถ้าเป็นกรรมต้องมีกริยาช่วยตัวอื่นมาร่วมด้วย  และวางไว้หลัง What เช่น What do you   want  ?

                      ·   Which  (สิ่งไหน อันไหน)  ใช้ถามถึงสัตว์, สิ่งของ, เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น  ถ้าเป็นประธานไม่ต้องใช้กริยาอื่นมาช่วย  Which  is  the  best?  อันไหนดีที่สุด ?.(  อนึ่ง  ปฤจฉาสรรพนาม Whose  ,which,  what นี้  ถ้าใช้โดยมีนามอื่นต


                      6.   Relative  Pronoun   ประพันธ์สรรพนาม  คือสรรพนามที่ใช้แทนที่อยู่ข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ซึ่งอาจเป็นประธานของประโยคหลังได้ด้วย  ได้แก่ Who,  Whom,   Whose, Which,  Where,  what,  when, why,  that .

·Who  (ผู้ซึ่ง)  ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำด้วย เช่น    The  man  who  came  here  last  week  is  my  cousin.  ชายผู้ซึ่งมาที่นี่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน.

·Whom  (ผู้ซึ่ง)  ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ถูกกระทำด้วย เช่น The  boy  whom  you  saw  yesterday  is  my  brother. เด็กชายผู้ซึ่งคุณพบเมื่อวานนี้เป็นน้องชายของผม.

·Whose (ผู้ซึ่ง…..ของเขา)   ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามที่ตามหลัง ดังนั้นเมื่อมี Whose ก็ต้องมีนามตามหลัง Whose เสมอ  เช่น  The  girl  whose  father  is  a  teacher  goes  to  school  every  day.   เด็กหญิงผู้ซึ่งพ่อของเขาเป็นครูนั้นไ

 ·Which  (ที่,ซึ่ง)  ใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม   The  animal            which  has  wing  is  a  bird.  สัตว์ที่มีปีกนั้นคือนก(เป็นประธานของอนุประโยค  has  wings) The  kitten  which  I  gave  to  my  aunt  is  very  naughty. 

·Where  (อันเป็นที่)  ใช้แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น  The  night  club is  the  place  where  is  not  suitable  for children. ไนท์คลับเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ(เป็นประธานของอนุประโยค is  not  suitable  for  children )  Th

·What  (อะไร,สิ่งที่)  ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ นามที่ What ไปแทนทำหน้าที่เป็นประพันธ์สรรพนามนั้นไม่ต้องปรากฏให้เห็นอยู่ข่างหน้าเหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานะที่เข้าใจแล้ว เช่น I  know  what  is  in  the  box.  ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในก

·When  (เมื่อ,ที่)  ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา ,วันเดือน,ปี  เช่น  Sunday  is  the  day  when  we  don’t  work.  วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ทำงาน.

·Why  (ทำไม)   ใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล  (ส่วนมากใช้แทน reason ) เช่น This  is  the  reason  why  I  go  to  Hong  Kong. นี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงไปฮ่องกง. 

                ·   That  (ที่,ซึ่ง)   ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์   4  ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง  อันได้แก่  :-

    1.    เป็นนามที่มีคุณสมบัติสูงสุดมาขยายอยู่ข้างหลัง เช่น  He is the tallest  man  that  I   have  ever seen. เขาเป็นคนสูงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา.   

2.    เป็นนามที่มีเลขจำนวนนับที่มาขยายอยู่ข้างหน้า  เช่น China  is  the  first  country  that  I am  going  to  visit. จีนเป็นประเทศแรกที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยว.

3.    เป็นนามที่มีคุณศัพท์บอกปริมาณมาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น She has much money  that  she  give  me.  หล่อนมีเงินอยู่มากที่หล่อนจะให้ผม. 

                           4.    เป็นสรรพนามผสมต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่แล้ว คือ someone,  somebody,  something,  anyone,  anything,  anybody,  anyone,  everything,  no  one,  nothing,  etc.  เช่น    There  is  nothing  that  I can  do  for  you.  

          7Reflexive   Pronoun   สรรพนามสะท้อนหรือเน้น  ได้แก่บุรุษสรรพนามที่ นั่นเอง  อันได้แก่   myself,  yourself,  ……. Themselves.   เวลาใช้มีวิธีใช้  4  อย่างคือ  :-

                                1.  เรียงไว้หลังประธาน  เมื่อต้องการเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้นด้วยตนเอง เช่น  I   myself  study  English.   ผมเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง.

2.    เรียงไว้หลังกริยา เมื่อบอกว่าผลการกระทำนั้นเกิดจากผู้กระทำเองเช่น   I  will  punish  myself  if  I do  mistakes  ผมจะลงโทษตัวเอง  หากผมทำผิด. 

3.    เรียงไว้หลังกรรม  เมื่อต้องการเน้นกรรมนั้นเช่น   I   spoke   to  the  President   himselfผมได้พูดกับตัวท่านประธานาธิบดีเอง.

8Distributive   Pronoun    วิภาคสรรพนาม   คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการแบ่งหรือจำแนกออกเป็นครึ่งหนึ่ง, สิ่งหนึ่ง, หรือตัวหนึ่ง  วิภาคสรรพนามที่นิยมใช้กันมากคือ

each   แต่ละ,  either   คนใดคนหนึ่ง,   neither  ไม่ใช่ทั้งสอง  หรือไม่ใช่ทั้งสอง  เช่น  There  are  ten  boy  .  Each   has  one  hundred  bath.   มีเด็กอยู่ 10  คน  แต่ละคนมีเงินอยู่คนละ  100  บาท.

*   ข้อสังเกต   วิภาคสรรพนามถ้าใช้ลอยๆเป็นสรรพนาม  แต่ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังจะเป็นคุณศัพท์                             



ลักษณะพจน์ของนามโดยทั่วไป

                ในการสร้างประโยคนั้นจะต้องใช้กริยาให้สอดคล้องกับพจน์ของตัวประธาน  ถ้าประธานเป็นเอกพจน์กริยาก็ต้องเป็นเอกพจน์  ถ้าประธานเป็นพหูพจน์กริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์    ซึ่งหลักในการดูว่านามนั้นเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นก็ให้ดูที่ท้ายศัพท์นั้นๆคือ

          1.     ถ้าท้ายศัพท์นั้นไม่เติม  S  ให้ถือว่าเป็นเอกพจน์  เช่น   a  book ,   a cat  …  etc.

          2.    ถ้าท้ายศัพท์นั้นเติม  S   ให้ถือว่าเป็นพหูพจน์  เช่น  Books,     cats ….   etc.

                *    ข้อยกเว้น   มีนามหลายตัว หรือหลายลักษณะที่ไม่อยู่ในหลักการทั้ง  ที่กล่าวมาแล้วนั้น  ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดเกินไปที่เราควรจะรู้ในขณะนี้  ดังนั้นจะไม่กล่าวถึงกรณีที่ยกเว้นเหล่านี้   ถ้าใครสนใจอยากรู้มากขึ้นก็พึงหาศึกษาเอาเองต่อไป.

                                                        

เพศของนาม

          นามในภาษาอังกฤษทั้ง ชนิด   เมื่อจำแนกออกเป็นเพศแล้วจะมีอยู่   4  เพศ  คือ

          1.   Masculine    Gender   เพศชาย    เช่น  boy,  man….etc.

                2.  Feminine     Gender    เพศหญิง  เช่น   girl,  woman …etc.

          3.   Common    Gender   เพศรวม  เช่น Teacher,  Student…etc.

          4.   Nature     Gender    ไม่มีเพศ  เช่น   pen,  desk…etc.



หลักการเปลี่ยนเพศชายเป็นเพศหญิงมีหลักเกณฑ์  4  อย่างคือ

1.    โดยการเปลี่ยนคำทั้งคำจากเพศชายเป็นเพศหญิง เช่น  Boy   เป็น   Girl  เป็นต้น

2.    โดยการเติมอาคม  ess   ที่ท้ายคำเพศชาย  เช่น         Prince  เป็น   Princess  เป็นต้น

3.    โดยการเติมคำที่เป็นเพศหญิงข้างหน้านาม  จะกลายเป็นเพศหญิง  เช่น Boy-friend เป็นgirl- 

       friend    เป็นต้น.                                                                            

 4.    โดยการเติมคำที่เป็นเพศหญิงข้างหลังนามจะกลายเป็นเพศหญิง เช่น Grand-father

       เป็น  Grandmother  เป็นต้น.

จบเรื่องนามและสรรพนาม


Article

                 Article   คือคำที่ใช้นำหน้านาม    คือคำนามในภาษาอังกฤษทุกตัว เวลาพูด-เขียนจะต้องมี Article นำหน้าทั้งสิ้น(ยกเว้นบางตัวที่จะกล่าวต่อไป) 

                   Article  มีอยู่ 2 ชนิดคือ

          1.   Indefinite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายทั่วไป  อันได้แก่  A  , An.

          2.   Definite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายชี้เฉพาะ  ได้แก่  The .

                                 

หลักทั่วไปของการใช้   A

                  คือเมื่อ  A  นำหน้านามใดนามนั้นต้องมีลักษณะครบ  4  ประการ อันได้แก่

1.    เป็นนามเอกพจน์

2.    เป็นนามนับได้

3.    เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ

4.    เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป

ข้อยกเว้น  ห้ามใช้  A นำหน้า  คือนามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ  แต่อ่านออกเสียงสระที่อยู่ถัดไป  นามตัวนั้นให้ใช้  AN  นำหน้าแทน  (มี   H  เท่านั้น)

หลักทั่วไปของการใช้  AN

     คือเมื่อ  AN  นำหน้านามใด  นามนั้นจะต้องมีลักษณะครบ ประการ คือ

                                   1.    เป็นนามเอกพจน์

2.    เป็นนามนับได้

3.    เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ คือ    A ,  E ,  I ,  O ,  U.

4.    เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป

               *  ข้อยกเว้น   ห้ามใช้   AN  นำหน้าคือ  นามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยสระ  แต่อ่านออกเสียงเป็นพยัญชนะ”  นามตัวนั้นให้ใช้  A  นำหน้าแทน  (มี   U  และ  E  เท่านั้น).

           นามต่อไปนี้ห้ามใช้ทั้ง และ AN  นำหน้าเด็ดขาด

1. นามที่นับไม่ได้ทุกชนิด

2. นามพหูพจน์ทุกชนิด

                      

หลักทั่วไปของการใช้  THE

          ใช้นำหน้าได้ทุกชนิด ทุกประเภท  นั่นคือ

                                  1.   เป็นนามเอกพจน์       ก็ใช้  The  นำหน้าได้

                                  2.    เป็นนามพหูพจน์   ก็ใช้  The  นำหน้าได้

                                      3.    เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ  ก็ใช้  The  นำหน้าได้

                                    4.    เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ    ก็ใช้  The  นำหน้าได้ (แต่ให้อ่านว่า ดิ )

                                      5.    เป็นนามที่นับได้  ก็ใช้  The  นำหน้าได้

                                      6.   เป็นนามที่นับไม่ได้  ก็ใช้  The  นำหน้าได้

                                           7.   แต่นามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะต้องมีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงเท่านั้น.

            นามต่อไปนี้ห้ามใช้ THE  นำหน้า

                                1.   นามที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ

                                 2.   นามที่ระบุไว้ในหัวข้อว่าห้ามใช้  THE  นำหน้า(ซึ่งมีข้อห้ามมากมายแต่จะไม่กล่าวถึง)

     * อนึ่งแม้ลักษณะของประโยคจะไม่มีคำบ่งชี้เฉพาะเอาไว้  แต่ถ้านามนั้นเป็นที่รู้จักกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง  ก็ให้ใช้ THE  นำหน้าได้.

การใช้  A, AN, THE แบบระคน

-         ถ้านามนั้นมีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมา ขยายอยู่ข้างหลัง ให้ใช้    the   ทันที.

-         ถ้านามนั้นไม่มีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมาขยายอยู่ข้างหลังให้ใช้    a,  an   ทันที

           * มีหลักพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ  นามใดก็ตามที่เป็นเอกพจน์นับได้  ที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ ให้เติม a  , an  ทันที  แต่ถ้านามนั้นถูกยกขึ้นมากล่าวอีกเป็นครั้งที่   2  ให้เติม   the   ทันที.

*   อนึ่งยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำนามบางตัวว่านามตัวใดใช้เฉพาะ A, AN และนามตัวใดใช้เฉพาะ THE   ซึ่งเป็นคำนามพิเศษ แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง.

จบเรื่อง Article



Adjective

Adj.   คือคำที่ใช้บรรยายคุณภาพของนาม (ขยายนาม)  เช่น  Good,  tall,  fat ..etc.

Adj.  เวลานำไปใช้นั้นปรกติมีวิธีใช้อยู่  2  วิธีคือ

1.    เรียงไว้หน้านามที่ Adj. นั้นไปขยายโดยตรงก็ได้  เช่น 

The   fat  man  can’t run  quick. 

 A   clever  boy can answer a difficult problem.

2.    เรียงไว้หลัง  Verb  to  be  ก็ได้  เช่น.

Somsri  is  beautiful.

My   dog  is  black.

               *  อนึ่งการใช้  Adj.  แบบ 1 และ 2 นั้นเป็นการใช้ Adj.  แบบทั่วๆไป    แต่ยังมี  Adj.  พิเศษหลายตัวที่บังคับว่าจะต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง.

ชนิดของ  Adj.

                     Adj.  แบ่งออกเป็น    8  ชนิดคือ.

1.    Descriptive  Adj.   คุณศัพท์บอกลักษณะ(หรือคุณภาพ)  เช่น  Good, fat, tall,  thin,  rich ,etc.
2.    Proper  Adjคุณศัพท์บอกชื่อเฉพาะ(บอกสัญชาติ)คือเป็นAdj. ที่มีรูปมาจากคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น Thai  (มาจาก Thailand), English (มาจาก England)…
3.    Quantitative  Adjคุณศัพท์บอกปริมาณ(ว่ามากหรือน้อยเท่านั้น)  ได้แก่คำว่า many,  much,  little,  some,  any, all .  เช่น    He  has  many  friend  เขามีเพื่อนมาก.
4.    Numeral  Adj.  คุณศัพท์ที่บอกจำนวน(ว่ามีเท่าไร) ได้แก่คำว่า One, Two, Three…
5.    Demonstrative Adjคุณศัพท์ชี้เฉพาะ(เจาะจงว่าเป็นคนนั้นคนนี้ มิได้หมายถึงคนอื่น)ได้แก่คำว่า  the,  same,  this,  that,  these,  those,  such,  such  a . เช่น He  is  in  the same  room. เขาอยู่ห้องเดียวกัน.
6.    Possessive  Adj.  คุณศัพท์บอกเจ้าของ(มีรูปมาจากบุรุษสรรพนามที่ 3 )แต่เวลาใช้จะต้องมีนามตามหลังด้วยเสมอ  ได้แก่คำว่า  my,  your,  our,   his,  her,  its,  there . เช่น   His  dog  is  white.   สุนัขของเขาสีขาว.
7.    Interrogative  Adjคุณศัพท์คำถาม (ใช้ขยายนามเพื่อให้เป็นคำถาม ต้องวางไว้หน้านามเสมอ ถ้าไม่มีนามตามหลังมันจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม) ได้แก่คำว่า What (อะไร), Which (อันไหน) ,Whose (ของใคร) เช่น  Whose  house  is  that ? นั้นคือบ้านของใคร ? .
8.     Distributive  Adjคุณศัพท์แบ่งแยก(ใช้ขยายานามเพื่อแบ่งแยกให้เป็นรายบุคคลหรือรายสิ่งตามที่ผู้พูดต้องการ) และนามที่ถูกขยายนั้นต้องเป็นเอกพจน์ตลอดไป ได้แก่คำว่า  each,  (แต่ละ),  either (อันใดอันหนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง),  neither (ไม่ทั้งสอง),  every  (

จบเรื่อง Adjective



Adverbs

 Adverbs   คือคำที่ทำหน้าที่ขยายกริยาคุณศัพท์ , หรือขยาย Adverbs ด้วยกันก็ได้

         หลักการใช้ Adverbs 

-         ถ้าขยายกริยา ให้เรียงไว้หลังกริยา  เช่น The  old  man  walk slowly.

-         ถ้าขยายคุณศัพท์ ให้เรียงไว้หน้าคุณศัพท์ เช่น Dang is very strong.

-         ถ้าขยาย Adverbs  ให้เรียงไว้หน้า Adverbs  เช่น  The train runs very fast.

ชนิดของ Adverbs

Adverbs  แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้  3  หมวด คือ

              1.  Simple Adverbs   กริยาวิเศษณ์สามัญ  ใช้ขยายกริยาธรรมดานี่เอง แบ่งได้ 6      หมวดคือ

                   1. Adverbs    of  time   กริยาวิเศษณ์บอกเวลา ได้แก่คำว่า  now, ago, yesterday, ...

                   2. Adverbs  of  place   กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่  ได้แก่คำว่า near, far, in, out, …

                   3. Adverbs of  frequency  กริยาวิเศษณ์บอกความสม่ำเสมอ ได้แก่คำว่า always,  often,  again,   usually,  …

                  4.Adverbs  of  Manner  กริยาวิเศษณ์บอกอาการ  ได้แก่คำว่า  well,  slowly,  .    quickly, fast..

                  5.   Adverbs of  Quantity  กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากน้อย ได้แก่คำว่า  Many,     much,  very,  too,  quite…

                  6.  Adverbs  of  affirmation  or  negation กริยาวิเศษณ์บอกการรับหรือปฏิเสธ ได้แก่คำว่า  yes, no,  not,  not at all…

         2.   Interrogative Adverbs      กริยาวิเศษณ์คำถาม  ใช้ขยายกริยาเพื่อให้เป็นคำถาม (ต้องวางไว้หน้าประโยคเสมอ)  แบ่งได้ 6 หมวด  คือ

                     1.   บอกเวลา  ได้แก่คำว่า When (เมื่อไร),  How long (นานเท่าไร).

2.   บอกสถานที่  ได้แก่คำว่า Where  (ที่ไหน).

3.   บอกจำนวน   ได้แก่คำว่า  How  many  (มากเท่าไร),  How often (กี่ครั้ง)..

 4.   บอกกริยาอาการ  ได้แก่คำว่า  How  (อย่างไร)(ใช้กับ do).                                       5.   บอกปริมาณ  ได้แก่คำว่า   How   much (มากเท่าไร).

        6.   บอกเหตุผล  ได้แก่คำว่า  Why (ทำไม).

          3.   Conjunctive Adverbs  กริยาวิเศษณ์สันธาน  ใช้เชื่อมประโยคหน้าและหลังให้สัมพันธ์กัน ได้แก่คำว่า  Why,  Where,  When,  How,  Whenever,  While ,  As, Wherever..      

    * Adverbs   บางคำมีรูปเช่นเดียวกับ  Adj.  แต่การใช้ต่างกันคือ

-         เมื่อวางไว้หน้านาม  หรือหลัง  Verb  to  be  ก็จะเป็น  Adj.

-         ถ้าวางไว้หลังกริยาทั่วๆไป ก็จะเป็น Adverbs.

จบเรื่อง   Adverbs



Verb

Verb  (กริยา)  คือคำที่แสดงถึงการกระทำหรือถูกกระทำของคำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน(หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาด้วยก็ได้)  เพื่อบอกถึง  Tense (ช่วงเวลาที่กระทำ) Voice (ผู้พูด)  Mood  (อารมณ์ ?)

Verb  แบ่งออกเป็น  3  ชนิดคือ

1.   สกรรมกริยา  Transitive  Verb   กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ.

2.   อกรรมกริยา   Intransitive   Verb   กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ.

                   3.  กริยานุเคราะห์  Auxiliary  Verb  กริยาที่บอก  Tens, Voice, Mood.

  

         1.  สกรรมกริยา  คือกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์    เช่น   Kick (เตะ),              Eat (กิน)   เป็นต้น.

           คำที่นำมาเป็นกรรมของสกรรมกริยาได้ก็คือ

             1.    นามทุกชนิด   เช่น A  mango.

2     สรรพนาม  เช่น  Him.

3.    กริยาสภาวมาลา(สภาวะที่เกิดอยู่กับชีวิต) เช่น  To  study.

4.    กริยาที่เติม  ing  แล้วนำมาใช้เป็นนาม  เช่น  sleeping.

5.    วลีทุกชนิด  เช่น I  don’t  know  what  to  do.

6.    อนุประโยค  เช่น  I  know  who  will  come  tomorrow.

*อนึ่ง  สกรรมกริยาบางตัวหรือบางประโยค ต้องมีตัวขยายกรรมมารับ จึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์   เช่น  The  people   made  him  king. (ประชาชนแต่งตั้งให้เขาเป็นพระราชา)  เป็นต้น.

2.  อกรรมกริยา  คือกริยาที่มีเนื้อความอยู่ในตัวสมบูรณ์แล้ว  ไม่ต้องมีกรรมมารับ   เช่น Run, sleep, swim, sit.  เป็นต้น  แต่อกรรมกริยาบางตัวก็ต้องมีตัวขยายกิริยาเพื่อให้ประโยคได้ใจความสมบูรณ์  ซึ่งอกรรมกริยานั้นก็ได้แก่ Verb  to  be  (เป็น, อยู่, คือ) Verb 

3.    กริยานุเคราะห์   หรือกริยาช่วย  ได้แก่กริยาที่ไปทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น  เพื่อให้เป็น  Mood,  Voice,  Tense    ซึ่งกริยาเหล่านี้ใช้เป็นกริยาแท้ก็ได้  ใช้เป็นกริยาช่วยก็ได้  มีอยู่ทั้งหมด  24  ตัว  คือ.

                   Is, am,   are,   was,   were

                   Have, has, had, 

                   Do,   dose,  did

                   Will, would

                   Shall,   should

                   Can,   could

                   May,   might

                   Must

                   Need

                   Dear

                    Ought  to,      us  to.

*ข้อสังเกตว่าจะเป็นกริยาแท้หรือเป็นกิริยาช่วยก็ให้ดูว่า  ถ้ากริยาตัวใดตัวหนึ่งจาก  24  ตัวนี้อยู่ในประโยคเพียงลำพังไม่มีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วย  ก็เป็นกริยาแท้   แต่ถ้ามีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วยก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย  เช่น.

Ladda  is  a  beautifily  girl.    (แท้).

Ladda  is  drinking  water.      (ช่วย). 



หน้าที่  Verb  to  be

Verb  to  be  ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้

1.   วางไว้หน้ากริยาที่เติม  Ing   ทำให้ประโยคนั้นเป็น  Continuous  tense.

                     2.    วางไว้หน้ากริยาช่อง  3  (เฉพาะสกรรมกริยา) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก(เอากรรมขึ้นต้นประโยค)  มีสำเนียงว่า  ถูก  เช่น  A glass is broken.    แก้วถูกทำให้แตกเสียแล้ว  เป็นต้น.

                       3.   วางไว้หน้ากริยา สภาวมาลา Infinitive   แปลว่า  จะต้อง  มีความหมายเป็นอนาคต  เพื่อแสดงความจงใจ  เช่น   I am  to  see  my  home  every  year.    ฉันต้องไปเยี่ยมบ้านของฉันทุกๆปี  เป็นต้น.  



หน้าที่ของ   Verb  to  do

                               Verb  to   ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้.

                       1.    ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม  ตามหลักที่ว่า

                                                            

Verb   to  have   ไม่มี

Verb   to   be     ไม่อยู่

Verb  to  do      มาช่วย

                       

                        2.    ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธเหมือนกรณีข้อ  1  (เติม ing                  .                                    .                               หลัง  do,  dose )

                         3.   ช่วยหนุนกริยาตัวอื่นเพื่อให้ความสำคัญกับกริยาตัวนั้น  ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น

                               จริงๆ โดยเรียงไว้หน้ากริยาที่มันไปหนุน.

                         4.   ใช้แทนกริยาตัวอื่นในประโยค เพื่อต้องการมิให้กล่าวกริยานั้นๆซ้ำๆซากๆ.

                         5.    Verb  to  do  ถ้านำมาใช้เป็นกริยาแท้แปลว่า  ทำ.  

                        

หน้าที่ของ  Verb  to  have

                      Verb  to  have    ใช้ทำหน้าที่ดังนี้คือ

1.    เรียงไว้หน้ากริยาช่อง ทำให้ประโยคนั้นเป็น  Perfect tense.

2.    ใช้โดยมีกริยาสภาวมาลาตามหลัง  มีสำเนียงแปลว่า ต้อง  ตลอดไป เช่น

I  have  to  meet  you  tomorrow.   ฉันต้องไปพบท่านวันพรุ่งนี้.

3.    ใช้ในประโยคที่ให้ผู้อื่นทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้  ในกรณีนี้ต้องใช้รูปประโยค    Have  +  noun  +  Verb 3  .  เช่น  He   has  his  house  repaired.  เขาให้ช่างซ่อมแซมบ้านของเขา.



หน้าที่ของ  Will,  shall,  would,  should.

                        Will    ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล  ใช้กับประธานบุรุษที่  2, 3.

                        Shall   ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล  ใช้กับประธานบุรุษที่  1  คือ  I, We.

                     

                            Would   ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้.

1.    ใช้เป็นอดีตของ  will  ในประโยคที่เปลี่ยนจากคำพูดของผู้อื่นมาเป็นของตน

2.    ใช้เป็นกริยาช่วยในสำนวนการพูด อยากจะ”    “อยากให้”.

3.    ใช้ในสำนวนการพูดว่าควรจะดีกว่า”  ควบกับ Better  หรือ  rather  

Should  ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้.

1.    เป็นอดีตของ  Shall  ได้.

2.    Should   เมื่อแปลว่า ควร”  หรือ ควรจะ”  ถือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกประธาน







หน้าที่ของ  May,  Might

                             May  นำมาช่วยได้ดังนี้.

1.    เพื่อแสดงความมุ่งหมาย (เพื่อ)

2.    เมื่อแสดงความปรารถนา หรืออวยพรให้(ขอให้) *ต้องวางไว้หน้าประโยค.

3.    เพื่อช่วยถึงการอนุญาต  หรือขออนุญาต(ควรจะ)

4.    เพื่อแสดงความคาดคะเน (อาจจะ). 

5.    ช่วยเพื่อแสดงความสงสัย (อาจจะ).

                             Might  นำมาช่วยได้ดังนี้. 

1.    ใช้เป็นอดีตของ  May.

2.    ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่ใจว่าเขาจะทำอย่างนั้นจริง(แต่ถ้าแน่ใจใช้ May แทน).

Need

Need    ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า จำเป็นต้อง 

            ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์(ส่วนมากใช้เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธเท่านั้น และกริยาแท้ที่ตามหลัง  Need  ไม่ต้องใช้  To  นำหน้า).

Need   ถ้าเป็นกริยาแท้แปลว่า "ต้องการ"

และใช้เหมือนกริยาแท้ทั่วๆไป(ต้องมี  To  ตามหลัง Need ตลอดไป).

Dear

                    Dear   ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า กล้า”       ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์     และเป็นปัจจุบันกาล   คำตามหลังไม่มี   To.

                                                                

Ought to

                                 Ought  to    แปลว่า   “ควรจะ”  เป็นกริยาพิเศษเหมือน is  หรือ  do  นั่นเอง    อาจใช้   should   แทนก็ได้  แต่ความหมายอาจจะอ่อนกว่า.

Used   to

                                  Used  to    แปลว่า  “เคย”  เป็นกริยาพิเศษหมายความว่า เคยกระทำอย่างใด อย่างหนึ่งเป็นประจำ แต่บัดนี้ไม่ได้กระทำแล้ว”(กริยาตามหลัง   ต้องเป็นกริยาช่อง 1 ตลอดไป  และใช้  used  to   เหมือน   is    หรือ   do  ).

จบเรื่อง Verb



Conjunction

   Conjunction   (คำสันธาน) คือคำที่ใช้เชื่อมประโยคต่อประโยค  คำต่อคำ  หรือระหว่างกริยาต่อกริยา                Conjunction         แบ่งออกเป็นชนิดคือ

1.       Conjunction   คำเดียว

2.       Conjunction    คำผสมหรือวลี

                     Conjunction   คำเดียวที่พบเห็นบ่อย         และใช้กันแพร่หลายมีดังนี้    and,  or,  but,  because, so,  as,  for,  whether,  until,  after,  before,  if,  though,  that,  when,  beside   เช่น  He  is  sick  so  he  go  to  see  doctor.

                     Conjunction    วลี หรือคำผสมที่พบเห็นบ่อยๆได้แก่คำต่อไปนี้คือ

                    -  Either….or    แปลว่าไม่อันใดก็อันหนึ่งใช้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปควบประธาน 2 คำจะใช้กริยาเป็นรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นขึ้นอยู่กับประธานตัวหลัง  เช่น   Either  he  or  I  am  mistaken. ไม่เขาก็ผมเป็นผู้ผิด.

                  -  Neither…..or   แปลว่าไม่ทั้งสอง”  ไว้สำหรับปฏิเสธโดยสิ้นเชิง(กริยาถือตามประธานตัวหลัง).เช่น  เช่น  Neither   you  nor  he  studies  mathematics.  ทั้งคุณและเขาไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์. 

                  -  As  well  as  แปลว่า "เช่นเดียวกันกับ"  (กริยาถือตามประธานตัวหน้า) เช่น He  as  well  as  I  is  sick  เขาก็เช่นเดียวกันกับผมไม่สบาย.

                    -  Not  only………but  also     แปลว่า  “ ไม่เพียงแต่……..เท่านั้น แต่ยังอีกด้วย”  ใช้เน้นน้ำหนักข้อความทั้งสองให้เด่นชัด  (แต่ต้องมีความหมายทางเดียวกัน)   (แต่ถ้ามีประธาน 2 ตัวใช้กริยาตามประธานตัวหลัง )   เช่น   Malisa is not only  beauti



จบConjunction






Preposition

Preposition   (คำบุรพบท)    คือคำที่ใช้เชื่อม  หรือแสดงความสำพันธ์ระหว่างคำต่อคำ  เช่น นามต่อนามกริยากับนามกริยากับสรรพนาม  สรรพนามกับนาม, หรือนามกับสรรพนาม.

Preposition    ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ.

1.   Preposition   คำเดียว      [Single Preposition].

2.   Preposition    วลี      [Preposition  phrase].

Preposition   คำเดียวที่พบเห็นบ่อยๆและนิยมใช้กันมากมีอยู่  44  คำคือ  in,  on,  at,  under,  to,  from,  of,  off,  since,  for,  near,  around,  inside,  outside,  beneath,  towards,  into,  till,  until,  from…to,  with,  without,  by,  up,  down,  afte

Preposition   คำเดียว

                    การใช้  [  in,  at,  on]    บุรพบทที่ใช้กับเวลามีหลักดังนี้.

                        In:     ใช้บอกเวลาที่เป็นชื่อเดือน, ปี, ฤดูกาล, และส่วนของวัน เช่น  I  like  to  swim  in  the  morning.  ผมชอบว่ายน้ำในเวลาเช้า.

At  :   ใช้เพื่อบอกเวลาเกี่ยวกับชั่วโมง  ,  noon,  night,  midnight,  midday,  Christmas,  Easter  เพื่อบอกเวลาเฉพาะเจาะจง  เช่น  They  want  home  at  three  o’clock,  พวกเขากลับบ้านเวลา 15.00 น.

On  ใช้เพื่อบอกเวลาที่เป็นวันของสัปดาห์  และวันที่  วันสำคัญทางราชการ และวันสำคัญทางศาสนา  เช่น  on  Sunday,  On  New  Year’s  Day  , On  King’s  Birthday.  etc.

On  time    แปลว่า  ตรงเวลาพอดี   (ตรงพอดี). เช่น  He  come  on  timeเขามาตรงเวลาพอดี.

                         In  time    แปลว่า   ทันเวลา  (ก่อนเวลา, ก่อนกำหนด).   เช่น    The  train  arrived  at  the  station  in  timeรถไฟมาถึงสถานีทันเวลา(มาถึงก่อนเวลา).

                                               การใช้     [at,  in]   บุรพบทที่ใช้เกี่ยวกับสถานที่มีหลักดังนี้   

                          at  :  ใช้บอกสถานที่ที่ไม่ใหญ่โตนัก ที่จำกัดแน่นอน  เช่น  at  school,  at  the  hotel….

                            in  :  ใช้บอกสถานที่ที่ใหญ่โตก็ได้เช่น   in  Thailand.  หรือใช้บอกสถานที่ที่เจาะจงภายในแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าใหญ่หรือโตก็ได้  เช่น   In the house, in  a  country    เป็นต้น.

การใช้  During, between, among มีหลักเกณฑ์ดังนี้

                           คำทั้ง  3  แปลว่า ระหว่าง แต่ใช้ต่างกันดังนี้

                           During:   ใช้สำหรับบอกระยะเวลาการกระทำช่วงใดช่วงหนึ่งตามที่ระบุไว้ในประโยค      เช่น           During   visiting  Thailand,   I  had  seen  the  Emerald  Buddha  Temple.        ระหว่างการมาเที่ยวประเทศไทย  ฉันได้ไปชมวัดพระแก้ว เ

                               Between: ใช้สำหรับครั่นระหว่างของสองอย่าง หรือคนสองคน      เช่น  She  is  standing  between  you  and  me.  หล่อนยืนอยู่ระหว่างคุณและผม  (เมื่อใช้    between     ต้องมี   and   ตามเสมอ).

                              Among   : ใช้สำหรับครั่นหรือเชื่อมนาม ที่มีจำนวนตั้งแต่  3  ขึ้นไป   เช่น The  teacher  is standing  among  us  . เป็นต้น   

การใช้  [ in,  on,  by]  กับยานพาหนะ

                     in  :  ใช้กับยานพาหนะที่มีสภาพปิด  กำบัง  เช่น   in the bus,  in  the  plane…

                     on  :  ใช้กับยานพาหนะที่มีสภาพเปิดโล่ง แจ้ง ไม่ปกปิดกำบัง เช่น  on a house,   on a  motor-cycle..

                     By  :  ใช้ได้ทั้งปิดและเปิด แต่ต้องไม่มี   Article  นำหน้า  เช่น   by  bus,    by  train …

การใช้  [on,  over,  above]  มีหลักดังนี้

                         on  :          ใช้บอกว่าของที่อยู่บนที่ติดอยู่กับอันล่าง.

                         Over  :      ใช้บอกว่าของอยู่เหนือหัวพอดี.

                         Above  :   ใช้บอกว่าของนั้นอยู่ด้านบน(กว้างๆ).

  

Preposition    วลี

                               Preposition  วลี     คือบุรพบทตั้งแต่  2  ตัวขึ้นไปมารวมอยู่ด้วยกัน  และมีความหมายเสมือนเป็นบุรพบทคำเดียว  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด คือ

1.     บุรพบทวลีชนิด  2  ตัว  [ two words Preposition].

2.     บุรพบทวลีชนิด  3  ตัว [three  words Preposition].



บุรพบทชนิด  2  ตัว ได้แก่บุรพบทต่อไปนี้คือ

according   to  ตาม  ,           instead  of   แทน , แทนที่

because  of      เพราะว่า,     owing to        เนื่องจาก.



บุรพบทชนิด  3  ตัวได้แก่บุรพบทต่อไปนี้คือ

in  order  to          :   เพื่อที่จะ   ,      by  means  of             :     โดยอาศัย

on  account  of      :  เนื่องจาก  ,     in  spite  of                 :     ถึงแม้ว่า

in  front  of            : ข้างหน้า    ,      in  back  of                :      ข้างหลัง

for  the  sake  of    : เพื่อเห็นแก่ ,    of  the  point  of        :     เกือบจะ

on  the  point  of    : เกือบจะ    ,      in  consequence  of   :     เนื่องจากว่า



               *  หมายเหตุ   ในเรื่องการใช้บุรพบทนี้   ยังมี  กริยาบางตัวที่มีข้อบังคับว่าต้องใช้บุรพบทตัวใดตามหลังอีกด้วย  อย่างเช่น   belong  to  (เป็นของ ) ,  arrive  at  (มาถึงสถานที่เล็กๆ),  ask…. for  (ขอ),  agree  with  (เห็นด้วย ตกลงด้วย),  consis

จบเรื่อง  preposition



Tense

Tense   คือรูปแบบ(หรือโครงสร้าง)ของกริยา  ที่แสดงให้เราทราบว่า  การกระทำหรือเหตุการนั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด   ซึ่งเรื่อง  tense  นี้เป็นเรื่องสำคัญ  ถ้าเราใช้    tense  ไม่ถูก  เราก็จะสื่อภาษากับเขาไม่ได้  เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะอยู่ในรูปของ  tense  เสม

Tense  ในภาษาอังกฤษนี้จะแบ่งออกเป็น  3  tense  ใหญ่ๆคือ

                1.     Present   tense        ปัจจุบัน

                                2.     Past   tense              อดีตกาล

                                3.     Future   tense          อนาคตกาล

ในแต่ละ  tense ยังแยกย่อยได้  tense  ละ  4  คือ

                 1 .   Simple   tense    ธรรมดา(ง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).

                                 2.    Continuous  tense    กำลังกระทำอยู่(กำลังเกิดอยู่)

3.     Perfect  tense     สมบูรณ์(ทำเรียบร้อยแล้ว).

4.     Perfect  continuous  tense  สมบูรณ์กำลังกระทำ(ทำเรียบร้อยแล้วและกำลังดำเนินอยู่ด้วย).

โครงสร้างของ  Tense  ทั้ง  12  มีดังนี้

                      [1.1]   S  +  Verb  1  +  ……(บอกความจริงที่เกิดขึ้นง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).

[Present]       [1.2]   S  +  is,am,are  +  Verb  1  ing   +  …(บอกว่าเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอะไรอยู่).

                      [1.3]   S  +  has,have  +  Verb  3 +  ….(บอกว่าได้ทำมาแล้วจนถึงปัจจุบัน).

                      [1.4]   S  +  has,have  +  been  +  Verb 1 ing  + …(บอกว่าได้ทำมาแล้วและกำลังทำต่อไปอีก).



                      [2.1]  S  +  Verb 2  +  …..(บอกเรื่องที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต).

[Past]            [2.2]  S  +  was,were  +  Verb 1  +…(บอกเรื่องที่กำลังทำอยู่ในอดีต).

                      [2.3]  S  +  had  +  verb 3  +  …(บอกเรื่อที่ทำมาแล้วในอดีตในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).

                      [2.4]  S  +  had  +  been  +  verb 1 ing  + …(บอกเรื่องที่ทำมาแล้วอย่างต่อเนื่องไม่หยุด).



                      [3.1]  S  +  will,shall  +  verb 1  +….(บอกเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต).

[Feature]        [3.2]  S  +  will,shall  +  be  +  Verb 1 ing  + ….(บอกว่าอนาคตนั้นๆกำลังทำอะไรอยู่).

                      [3.3]  S  +  will,shall  +  have  +  Verb 3  +…(บอกเรื่องที่จะเกิดหรือสำเร็จในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).

                      [3.4]  S  +  will,shall  +  have  +  been  + verb 1 ing  +.. ..(บอกเรื่องที่จะทำอย่างต่อเนื่องในเวลาใด -  เวลาหนึ่งในอนาคตและจะทำต่อไปเรื่อยข้างหน้า).  

                

หลักการใช้แต่ละ  tense  มีดังนี้

              [1.1]   Present  simple  tense    เช่น    He  walks.   เขาเดิน,

1.    ใช้กับเหตุการที่เกิดขึ้นตามความจริงของธรรมชาติ และคำสุภาษิตคำ พังเพย.    

2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด  (ก่อนหรือหลังจะไม่จริงก็ตาม).

3.    ใช้กับกริยาที่ทำนานไม่ได้   เช่น  รักเข้าใจ, รู้  เป็นต้น.

4.    ใช้กับการกระทำที่คิดว่าจะเกหิดขึ้นในอนาคตอันใกล้(จะมีคำวิเศษณ์บอกอนาคตร่วมด้วย).

5.    ใช้ในการเล่าสรุปเรื่องต่างๆในอดีต  เช่นนิยาย นิทาน.

6.    ใช้ในประโยคเงื่อนไขในอนาคต    ที่ต้นประโยคจะขึ้นต้นด้วยคำว่า    If    (ถ้า),       unless   (เว้นเสียแต่ว่า),    as  soon  as  (เมื่อ,ขณะที่),    till  (จนกระทั่ง) ,   whenever   (เมื่อไรก็ตาม),    while  (ขณะที่)   เป็นต้น.

7.    ใช้กับเรื่องที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ  และมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่สม่ำเสมอร่วมอยู่ด้วย  เช่น  always (เสมอๆ),  often   (บ่อยๆ),    every  day   (ทุกๆวัน)    เป็นต้น.

8.    ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น  [1.1]  ประโยคตามต้องใช้   [1.1]  ด้วยเสมอ.

                  

            [1.2]   Present  continuous  tense   เช่น   He  is  walking.  เขากำลังเดิน.

1.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด(ใช้  now ร่วมด้วยก็ได้ โดยใส่ไว้ต้นประโยค, หลังกริยา หรือสุดประโยคก็ได้).

2.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน  เช่น  ในวันนี้ ,ในปีนี้ .

3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้พูดมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้  เช่น เร็วๆนี้, พรุ่งนี้.

*หมายเหตุ   กริยาที่ทำนานไม่ได้  เช่น  รัก ,เข้าใจ, รู้, ชอบ  จะนำมาแต่งใน  Tense  นี้ไม่ได้.

                

            [1.3] Present perfect tense เช่น He has walk เขาได้เดินแล้ว.

1.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  และจะมีคำว่า Since  (ตั้งแต่) และ for  (เป็นเวลา) มาใช้ร่วมด้วยเสมอ.

2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีต (จะกี่ครั้งก็ได้ หรือจะทำอีกในปัจจุบัน หรือจะทำในอนาคตก็ได้)และจะมีคำว่า  ever  (เคย) ,  never  (ไม่เคย) มาใช้ร่วมด้วย.

3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้วแต่ผู้พูดยังประทับใจอยู่ (ถ้าไม่ประทับใจก็ใช้   Tense

4.    ใช้กับเหตุการที่เพิ่งจบไปแล้วไม่นาน(ไม่ได้ประทับใจอยู่) ซึ่งจะมีคำเหล่านี้มาใช้ร่วมด้วยเสมอ คือ  Just   (เพิ่งจะ), already  (เรียบร้อยแล้ว), yet  (ยัง), finally  (ในที่สุด)  เป็นต้น.



           [1.4] Present  perfect  continuous  tense    เช่น  He  has  been  walking .  เขาได้กำลังเดินแล้ว.

มีหลักการใช้เหมือน  [1.3]  ทุกประการ เพียงแต่ว่าเน้นว่าจะทำต่อไปในอนาคตด้วย    ซึ่ง [1.3] นั้นไม่เน้นว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่  ส่วน [1.4]  นี้เน้นว่ากระทำมาอย่างต่อเนื่องและจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย.



             [2.1] Past  simple  tense      เช่น  He  walked.  เขาเดินแล้ว.

1.   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต   มิได้ต่อเนื่องมาถึงขณะที่พูด และมักมีคำต่อไปนี้มาร่วมด้วยเสมอในประโยค เช่น  Yesterday, year  เป็นต้น.

2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำในอดีตที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆ ซึ่งต้องมีคำวิเศษณ์บอกความถี่ (เช่น Always, every  day ) กับคำวิเศษณ์ บอกเวลา (เช่น  yesterday,  last  month )  2  อย่างมาร่วมอยู่ด้วยเสมอ.

3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต  แต่ปัจจุบันไม่ได้เกิดอยู่ หรือไม่ได้เป็นดั่งในอดีตนั้นแล้ว  ซึ่งจะมีคำว่า  ago  นี้ร่วมอยู่ด้วย.

4.      ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [2.1]  ประโยคคล้อยตามก็ต้องเป็น [2.1]  ด้วย.



        [2.2]   Past continuous  tense   เช่น    He  was  walking .  เขากำลังเดินแล้ว

1.     ใช้กับเหตุการณ์   2   อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน  { 2.2  นี้ไม่นิยมใช้ตามลำพัง - ถ้าเกิดก่อนใช้  2.2   -  ถ้าเกิดทีหลังใช้ 2.1}.

2.     ใช้กับเหตุการณ์ที่ไดกระทำติดต่อกันตลอดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประโยค  ซึ่งจะมีคำบอกเวลาร่วมอยู่ด้วยในประโยค  เช่น  all  day  yesterday  etc.

3.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่กำลังทำในเวลาเดียวกัน(ใช้เฉพาะกริยาที่ทำได้นานเท่านั้น  หากเป็นกริยาที่ทำนานไม่ได้ก็ใช้หลักข้อ 1 ) ถ้าแต่งด้วย 2.1  กับ  2.2  จะดูจืดชืดเช่น   He  was  cleaning  the  house  while  I was  cooking  breakfast.



         [2.3]   Past  perfect  tense    เช่น  He  had walk.  เขาได้เดินแล้ว.

1.    ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต  มีหลักการใช้ดังนี้.

เกิดก่อนใช้  2.3  เกิดทีหลังใช้  2.1.

2.     ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอันเดียวก็ได้ในอดีต แต่ต้องระบุชั่วโมงและวันให้แน่ชัดไว้ในทุกประโยคด้วยทุกครั้ง  เช่น   She  had  breakfast  at  eight o’ clock  yesterday.



        [2.4]   past  perfect  continuous  tense    เช่น   He  had  been  walking.

           มีหลักการใช้เหมือนกับ  2.3  ทุกกรณี  เพียงแต่  tense  นี้  ต้องการย้ำถึงความต่อเนื่องของการกระทำที่ ว่าได้กระทำต่อเนื่องไปจนถึงการกระทำที่  2  โดยมิได้หยุด  เช่น  When  we  arrive  at  the  meeting ,  the  lecturer  had  been  speaking  for 



        [3.1]   Future  simple  tense      เช่น   He  will  walk.    เขาจะเดิน.

              ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งจะมีคำว่า  tomorrow,  to  night,  next  week,  next  month   เป็นต้น  มาร่วมอยู่ด้วย.

           * Shall   ใช้กับ     I    we.

             Will    ใช้กับบุรุษที่  2  และนามทั่วๆไป.

             Will,  shall  จะใช้สลับกันในกรณีที่จะให้คำมั่นสัญญา, ข่มขู่บังคับ, ตกลงใจแน่วแน่.

             Will,  shall   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจงใจก็ได้.

             Be  going  to  (จะ)  ใช้กับความจงใจของมนุษย์เท่านั้น  ห้ามใช้กับเหตุการณ์ของธรรมชาติและนิยมใช้ใน ประโยคเงื่อนไข.



       [3.2]    Future   continuous    tense    เช่น   He  will  be  walking.    เขากำลังจะเดิน.

1.     ใช้ในการบอกกล่าวว่าในอนาคตนั้นกำลังทำอะไรอยู่ (ต้องกำหนดเวลาแน่นอนด้วยเสมอ).

2.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต  มีกลักการใช้ดังนี้.

               -   เกิดก่อนใช้    3.2      S  +  will  be,  shall  be  +  Verb 1  ing.

                -  เกิดทีหลังใช้   1.1     S  +  Verb  1 .



        [3.3]   Future   prefect  tens    เช่น  He  will  walked.  เขาจะได้เดินแล้ว.

1.  ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือสำเร็จลงในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต  โดยจะมีคำว่า  by  นำหน้ากลุ่มคำที่บอกเวลาด้วย  เช่น   by  tomorrow  ,   by  next  week   เป็นต้น.

2.  ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีหลักดังนี้.

              -      เกิดก่อนใช้   3.3      S  +  will, shall  +  have  +  Verb 3.

-         เกิดที่หลังใช้   1.1    S  +  Verb 1 .



        [3.4]  Future  prefect  continuous  tense เช่น He  will  have  been  walking. เขาจะได้กำลังเดินแล้ว.

          ใช้เหมือน  3.3  ต่างกันเพียงแต่ว่า  3.4  นี้เน้นถึงการกระทำที่  1  ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงการกระทำที่  2  และจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย.

           *   Tense  นี้ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อยนัก  โดยเฉพาะกริยาที่ทำนานไม่ได้ อย่านำมาแต่งใน  Tense  นี้เด็ดขาด.

จบเรื่อง  Tense







None – finite   Verb

                      None – finite  Verb    คือคำกริยาที่มิได้ทำหน้าที่เป็นกริยาจริง  แม้จะมีรูปมาจากกริยาก็ตาม  แต่กลับทำหน้าที่เป็นนามบ้าง  , เป็นคุณศัพท์บ้างเป็นกริยาวิเศษณ์บ้าง ,หรือเป็นอื่นใดก็ได้ อันไม่ใช่กริยาแท้.

                     None – finite  Verb     แบ่งออกเป็น    3  ชนิด  คือ.

1.    Infinitive    [ to Verb 1].

2.    Gerund       [Verb + ing]

3.    Participle    [ Verb  +  ing , Verb  3]

                  · Infinitive   คือคำกริยาช่องที่ 1 ที่มี To นำหน้า  ทำหน้าที่ได้ 6 อย่างคือ

1.    เป็นประธานของกริยาก็ได้    เช่น   To  walk  in  the  morning  is  good  for  health.

2.    เป็นกรรมของกริยาก็ได้    เช่น   He  like  to  speak  English  with  his  friend.

3.    เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาก็ได้   เช่น   She  has to  go  now.

4.    เป็นคุณศัพท์ขยายนามก็ได้(แต่ต้องเรียงไว้หลังนาม)

5.    เมื่อเรียงตามหลังอกรรมกริยา เป็นกริยาวิเศษณ์ของอกรรมกริยาตัวนั้น.

6.    เมื่อเรียงตามหลังกริยาวิเศษณ์ หรือคุณศัพท์ ย่อมเป็นกริยาวิเศษณ์ขยายคำที่อยู่หน้ามัน

อนึ่ง  ยังมี  Infinitive  บางตัวที่ไม่ต้องใช้ To  นำหน้า เรียกว่า Infinitive  with out to   ในกรณีที่นำมาใช้ตามหลัง  หรือขยายนามที่ตามหลังคำกริยาพิเศษต่อไปนี้   do,  does,  did ,     will,  would,     shall,  should,   can,  could,    may,  might,  mus

                · Gerund   คือคำกริยาที่เติม  ing  แล้วนำมาใช้อย่างนาม(กริยานาม) Verbal  noun   เช่น Walking, studying  etc.   ทำหน้าที่ได้  5  อย่าง คือ

          1.   ใช้เป็นประธานของกริยาในประโยคก็ได้ เช่น   Swimming   is   a   good   exercise.

          2.   ใช้เป็นกรรมของสกรรมกริยาก็ได้  เช่น   She  remembered  seeing  me.

          3.   ใช้เป็นกรรมของบุรพบทได้  เช่น  We  are  found  of  learning  English.

          4.   ใช้ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาได้  เช่น   His  duty  is  cleaning.

4.    ใช้ทำหน้าที่เป็นคำนามผสม(หรือคุณศัพท์) และนิยมใช้ Hyphen (-) มาคั่นไว้เสมอ เช่น Reading-room, Swimming pool  …etc.

อนึ่งโดยปรกติทั่วๆไปแล้ว  Gerund  และ  Infinitive สามารถใช้แทนกันได้  ในทุกกรณีและมีความหมายเหมือนกัน  ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใช้  แต่ยังมีกริยาบางตัวที่มี  Gerund  และ Infinitive  มาเป็นกรรมแล้วจะมีความหมายต่างกันมาก  ซึ่งเราควรศึกษากันในภายหลัง.

                 

                   ·Participle   คือคำกริยาที่เติม  ing  บ้าง  หรือเป็นรูปกริยาช่อง  3  บ้าง  แล้วนำมาใช้ทำหน้าที่อย่างอื่น มิได้ใช้เป็นกริยาจริง  แบ่งออกเป็น  3  ชนิด คือ. 

          1.   Present  Participle    คือกริยาช่องที่ เติม  ing  แล้วนำมาใช้เป็นครึ่งกริยาครึ่งคุณศัพท์ ได้แก่คำว่า  Going,  walking,  eating,  sleeping,  coming,  etc.    ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.

1.    เรียงตามหลัง  Verb to  be ทำให้ประโยคนั้นเป็น  Continuous  tense.

2.    เรียงไว้หน้านาม เป็นคุณศัพท์ของนามนั้น.

3.    เรียงตามหลังกริยา เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา(มีสำเนียงแปลว่าน่า”).

4.    เรียงตามหลังกรรมเป็นคำขยายกรรมนั้น.

2.    Past  Participle   คือกริยาช่องที่  3  ซึ่งอาจมีรูปมทาจากการเติม  ed.  ก็ได้ หรือมีรูปมาจาก  การผันก็ได้ ได้แก่กริยาต่อไปนี้   Walked,  slept, gone  .  ..etc.  มีวิธีใช้ดังนี้.

1.    เรียงไว้หลัง  Verb  to  have  ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect  tense.

2.    เรียงตามหลัง Verb  to  be ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก(Passive voice)ตลอดไป.

3.    เรียงไว้หน้านามเป็นคุณศัพท์ของนามนั้น.       

4.    ใช้เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาได้.

5.    ใช้เรียงตามหลังนามก็ได้ แต่ต้องมีบุรพบทวลีมาขยายเสมอ.

              3.   Perfect  Participle   คือ  “ Having  +  Verb  3”  เช่น  Having  finish  …+  Past  Simple  Tense เป็นต้น  ซึ่ง Perfect  Participle นี้ ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ของประธานในประโยคหลัง  และต้องมีเครื่องหมาย  (,)  ด้วย  ซึ่งมีหลักการใช้มากมายซึ่

จบเรื่อง   Non-finite Verb



Question   tags

                 Question   tags คือการตั้งคำถามตามประโยคบอกเล่าหรือตามหลังประโยคปฏิเสธ                                               .                                                   

หลักการสร้างประโยค Question   tags

1.    ใส่เครื่องหมาย  Comma (,)  ครั่นระหว่างประโยคหน้าและประโยค Question   tags

2.     ถ้าประโยคท่อนหน้าเป็นประโยคบอกเล่า  ประโยค Question   tags ที่ตามหลังต้องเป็นคำถามปฏิเสธ.

3.     ถ้าประโยคท่อนหน้าเป็นประโยคปฏิเสธ ประโยค Question   tagsที่ตามหลังต้องเป็นคำถามธรรมดา

4.    ถ้าประโยคท่อนหน้ามีกริยาช่วย  24  ตัว ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่  เมื่อทำเป็นประโยค Question   tagsให้ใช้กริยาช่วยตัวนั้นมารทำเป็นประโยคคำถาม.

5.    ถ้าประโยคท่อนหน้าไม่มีกริยาช่วย  24  ตัว ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่ เมื่อทำเป็นประโยค Question   tagsต่อท้ายให้ใช้ Verb to do มาช่วย.

6.   ถ้าประโยคท่อนหน้าเป็น Question tags อะไร ประโยค Question   tags ที่ตามหลังก็ต้องใช้ Question   tags  ในระดับเดียวกันนั้น.                

 7.   ประโยค Question tags  ที่ถามเป็นปฏิเสธนั้น ระหว่างกริยาช่วย  24  ตัวกับคำว่า not  ต้องใช้รูปย่อเสมอ  คือ                 do  not         =    don’t            

                               does  not     =    doesn’t

                               will  not      =     won’t

                               shall   not    =    shan’t

                                are  not       =     aren’t     etc. 

       *ข้อสังเกต  need,  dear   เมื่อนำมาใช้เป็นกริยาแท้แล้ว จะเอามาตั้งเป็น Question   tagsไม่ได้  ต้องใช้  Verb  to  do มาแทน.

        *อนึ่ง  กริยา  Used  to  เมื่อทำเป็น Question   tags ไม่นิยมใช้  used   ขึ้นต้นประโยคของมัน  แต่นิยมใช้  did  มาแทนทุกครั้ง (เช่นเดียวกับ  Verb to  have  ถ้าแปลว่ารับประธาน, ได้รับ โดยมิได้แปลว่า มี).



การใช้ Question   tags  ตามหลังประโยคคำสั่ง

           ถ้าประโยคบอกเล่านั้นเป็นประโยคคำสั่ง ,คำเตือน,ขอร้อง,เชื้อเชิญ  เพื่อให้ประโยนั้นสุภาพยิ่งขึ้น ต้องใช้รูปเดียวคือ.

………………………………,  Will   you  ?

                        

          

การใช้ Question   tags  ตามหลังสำนวน  Let’s,  Let  me

             ประโยค Question   tags  ยังใช้ตามหลังสำนวน  Let’s ,  Let  me  ที่มีสำนวนการพูดอันหนึ่งสำหรับใช้ชักชวนได้  แต่ต้องใช้รูปเดียวคือ

………………………………,   Shall   we ?



       

                ถ้าประโยคข้างหน้าขึ้นต้นด้วย  Let  me   ประโยค Question   tags  ต้องใช้รูปเดียวคือ

……………………………,  Will  you  ?



                                      การตอบประโยคคำถามที่เป็น Question   tags

                ให้ตอบด้วย  Yes, หรือ  No   เท่านั้นและตอบได้  2  อย่างคือ

1.    ตอบแบบสั้น  [Short  Answer].

2.    ตอบแบบยาว  [long  Answer].

    ตัวอย่าง       :    แบบสั้น   Yes, I  am    ,  No,  he  isn’t.

                    :    แบบยาว    Yes,  I  am  a  student.   ,  No he isn’t here.

จบเรื่อง Question   tags



prefixes     and  suffixes

                  prefixes   แปลว่า อุปสรรค   หมายถึงคำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำเดิมนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม          

                  prefixes   ที่พบเห็นบ่อยมีอยู่   10  คำ คือ

(])  Un   (ไม่)  ใช้เติมหน้าคุณศัพท์  (adj.)  หรือกริยาวิเศษณ์(adv.)  แล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงข้าม เช่น

                   happy  (มีความสุข)              ®            unhappy (ไม่มีความสุข)

                   wise  (ฉลาด)                      ®             unwise (ไม่ฉลาด)

                   suitable (เหมาะสม)             ®             unsuitable (ไม่เหมาะสม)             

(2)   Im (ไม่)    ใช้เติมหน้าคำคุณศัพท์  ( adj.)  เท่านั้นแล้วทำให้มีความหมายตรงข้าม   เช่น

                   possible (เป็นไปได้)            ®           impossible (เป็นไปไม่ได้)

                   proper (ถูกต้อง)                   ®           improper (ไม่ถูกต้อง)

                   pure (บริสุทธิ์)                      ®          impure (ไม่บริสุทธิ์)

(3) In  (ไม่)  ใช้เติมหน้าคุณศัพท์  (adj.)  เท่านั้น  แล้วทำให้มีความหมายตรงข้าม  เช่น

direct (ตรง)                           ®          indirect  (ไม่ตรง)

complete  (สมบูรณ์)             ®           incomplete  (ไม่สมบูรณ์)

expensive (แพง)                    ®          inexpensive (ไม่แพง)

(4)  Re (อีก)   ใช้เติมหน้าคำกริยา หรือคำนามที่มาจากกริยาเท่านั้น  แล้วทำให้มีความหมายว่า ทำอีก  เช่น …            .            write (เขียน)                     ®              rewrite (เขียนใหม่)

                           speak  (พูด)                      ®              respeak  (พูดอีก)

                           birth  (เกิด)                       ®              rebirth    (เกิดอีก)



(5)   Dis   (ไม่)  ใช้เติมหน้ากริยา  หรือเติมหน้าคุณศัพท์  แล้วทำให้มีความหมายตรงกันข้าม   เช่น

                            like  (ชอบ)                    ®                dislike  (ไม่ชอบ)

                            appear  (ปรากฏ)             ®                 disappear(ไม่ปรากฏ)

                            agree    (เห็นด้วย)           ®                 disagree   (ไม่เห็นด้วย)

                            use   (ใช้)                      ®                disuse    (เลิกใช้)

(6) Mis  (ผิด) ใช้เติมหน้าคำกริยาเท่านั้น  แล้วทำให้มีความหมายว่ากระทำผิด  เช่น

                            understand  (เข้าใจ)            ®            misunderstand(เข้าใจผิด)

                            spell (สะกดตัว)                   ®            misspell  (สะกดตัวผิด) 

          call  (เรียก)                        ®            miscall (เรียกผิด)

(7) per (ก่อน)  ใช้เติมหน้าคำนาม  หรือกริยาให้มีความหมายว่าก่อนหรือทำก่อน   เช่น

                             pay  (จ่าย)                                    ®           prepay  (จ่ายล่วงหน้า)

                             history  (ประวัติศาสตร์)                  ®           prehistory  (ก่อนประวัติศาสตร์)

(8)    Tri  (สาม)   ใช้เติมหน้าคำนาม แล้วทำให้มีความหมายว่าสาม  เช่น

                            angle  (เหลี่ยม)                        ®             triangle  (สามเหลี่ยม)

                            cycle  (จักรยาน)                      ®             tricycle  (รถสามล้อ)

(9)    Bi  (สอง)   ใช้เติมหน้าคำนาม แล้วทำให้มีความหมายว่าสอง”   เช่น

                             cycle (จักรยาน)               ®           bicycle (จักรยานสองล้อ)

                             polar  (ขั้วโลก)                ®           bipolar  (มีสองขั้วโลก)

                             sexual  (เพศ)                   ®           bisexual  (มีสองเพศ)

(10)   En    ใช้เติมหน้าคำนาม หรือคุณศัพท์ให้คำนั้นกลับเป็นกริยา เช่น

                              camp (ค่ายพัก)               ®            encamp  (ตั้งค่าย)

                              sure   (แน่ใจ)                 ®            ensure   รับประกัน)

                              large   (ใหญ่)                 ®            enlarge    (ขยายให้ใหญ่) 



                     Suffix   แปลว่า  ปัจจัยสำหรับปรุงแต่งคำอื่นให้เป็นนามบ้าง เป็นกริยาบ้าง แล้วมีความหมายเปลี่ยนไป          (โดยการเติมข้างหลังคำต่างๆ)  ที่พบเห็นบ่อยๆมีอยู่ 8 ตัวคือ.

1.    er  (ผู้)  ใช้เติมข้างหลังกริยา หรือคำนาม ให้หมายถึงบุคคลหรือผู้กระทำ   เช่น

                             teach  (สอน)                     ®           teacher  (ผู้สอน,ครู)

                             run   (วิ่ง)                           ®           runner  (ผู้วิ่ง)

                             speak   (พูด)                      ®           speaker  (ผู้พูด)

2.   or  (ผู้)   ใช้สำหรับเติมข้างหลังกริยาอย่างเดียว   เช่น

                              act (กระทำ)                              ®        actor  (ผู้แสดง)

                              govern  (ปกครอง)                     ®        governor  (ผู้ปกครอง,ผู้ว่า)

                              direct (ควบคุม)                         ®        director(ผู้อำนวยการ)

3.    en  (ทำด้วย) ใช้เติมหลังคำนามให้กลายเป็นกริยา  เช่น….

                              gold  (ทอง)                         ®         golden  (ทำด้วยทอง)

                              wood  (ไม้)                          ®        wooden  (ทำด้วยไม้)

                             light  (แสงสว่าง                      ®        lighten  (ทำให้มีแสงสว่าง) 

4.   ly  (อย่าง)   ใช้เติมหลังคุณศัพท์ ให้กลายเป็นกริยาวิเศษณ์   เช่น

                     slow  (ช้า)           ®          slowly  (อย่างช้า)

                     quick  (เร็ว)           ®         quickly  (อย่างเร็ว)

                     happy  (มีความสุข)  ®         happily  (อย่างมีความสุข)

ful  (มี) ใช้เติมหลังนามบ้าง กริยาบ้าง ให้กลายเป็นคุณศัพท์  เช่น….

                   beauty        (ความสวย)      ®       beautiful(มีความสวย)

                            use  (ใช้)                ®        useful  (มีประโยชน์)

                   wonder       (สงสัย)          ®       wonderful  (มีความประหลาดใจ)

6.  less   (ปราศจาก ไม่มี)  ใช้เติมหลังนาม ให้กลายเป็นคุณศัพท์  เช่น

                   job  (งาน)              ®     jobless  (ไม่มีงาน)

                   live  (ชีวิต)             ®     lifeless  (ไม่มีชีวิต)

could  (เมฆ)          ®        coldness(ปราศจากเมฆ)

7.   ness  (ความ) ใช้เติมหลังคุณศัพท์ ให้เป็นคำนาม  เช่น

                   happy  (มีความสุข)    ®     happiness  (ความสุข)

                   light  (เบา)             ®     lightness  (ความเบา)

                   soft  (นุ่ม)               ®        softness  (ความนุ่ม)

8.   y  (มี)  ใช้เติมหลังคำนาม ให้เป็นคุณศัพท์  เช่น

                   sun  (ดวงอาทิตย์)      ®     sunny  (มีแสงแดด)

                   stone  (หิน)           ®     stony (มีหินมาก)

                   storm  (พายุ)           ®     stormy (มีพายุมาก)

                                  

จบ   prefixes  an   suffixes

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น